คุณภาพสิ่งแวดล้อม

โดย: ลม [IP: 94.137.94.xxx]
เมื่อ: 2023-05-07 21:21:43
และคุณภาพของชีวิต           ดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมตามความเข้าใจโดยทั่วไปนั้น มีความหมายเพียงแค่อากาศเป็นพิษและน้ำเสีย แต่ความหมายอย่างกว้างของสิ่งแวดล้อมนั้น คือกระบวนการทั้งหมดของชีวิตกับธรรมชาติทุกอย่างรอบตัวเรา  โลก เป็นวัฏจักรที่เกี่ยวเนื่องกันมีผลต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เห็นได้เร็วและมีผลที่จะแสดงให้เห็นในภายหลังสิ่งแวดล้อมคือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศประชากร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ ภูเขา แร่ธาตุ) การตั้งถิ่นฐานชุมชนตลอดจนถึงเอกลักษณ์และสมบัติทางวัฒนธรรมซึ่งสามารถเห็นได้ชัดในรูปของศิลปกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ และกิจกรรมที่สืบทอดความมีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันในรูปแบบกิจกรรมท้องถิ่นต่างๆ           จากขอบเขตและความหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกี่ยวพันต่อเนื่องกับปัญหาของชุมชนและสังคมในเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม โบราณคดี สุขภาพอนามัย ฯลฯ หากจะกล่าวโดยสรุป ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นก็คือปัญหาที่รวมตัวอยู่ในกระบวนการทางด้านการพัฒนานั่นเองโดยเหตุที่มีความเกี่ยวพันกับโครงการพัฒนาต่างๆ จึงปรากฏอยู่เสมอว่านักพัฒนาที่มีความเห็นด้านเดียวมักจะมองว่าสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาประเทศแต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในระยะยาวจะนำความผาสุกอย่างแท้จริงมาสู่ประชาชนไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้การพัฒนานั้นคือการพัฒนาที่สูญเปล่า สิ้นเปลืองทรัพยากรของชาติและก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม           หลายต่อหลายครั้งที่พบว่า ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมบางส่วน เนื่องมาแต่ผลจากการพัฒนาที่มิได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวความคิดที่ถูกต้องในการพัฒนาก็คือ การพัฒนาที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ผลจากการพัฒนานั้นก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง นั่นก็คือการยกระดับ คุณภาพแห่งชีวิตของประชาชนในสังคมนั้นให้ดีขึ้นภายในกรอบและขอบเขตของความเป็นจริง ซึ่งจะต้องสอดคล้อมกับเอกลักษณ์ระดับมาตรฐาน สภาพความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ระเบียบประเพณี วัฒนธรรม สังคม ซึ่งประชาชน ทุกคนรับได้และมีความสุขความเจริญทางเศรษฐกิจ และพยายามที่จะให้มวลรายได้ประชาชาติสูงขึ้นถึงระดับบางประเทศในโลก ซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมและมีลักษณะตลอดจนมาตราฐานความเป็นอยู่ตลอดจนค่านิยมแตกต่างกันของไทยโดยสิ้นเชิงนั้น มิใช่เป้าประสงค์สุดท้ายของการบรรลุถึงการมีคุณภาพแห่งชีวิตที่สมบูรณ์ได้ ตรงกันข้ามอาจกลับทำให้สังคมนั้นต้องเสียสละคุณภาพแห่งชีวิต ในมาตราฐานของตนให้แก่การพัฒนาไป

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 83,258